เบาหวานตรวจก่อน รู้ก่อน อย่าประมาท

เบาหวาน... ตรวจก่อน...รู้ก่อน...ลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาว

               รู้หรือไม่? การป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาจทำให้คุณอายุสั้นลงได้! จากสถิติพบว่า คนอายุ 60 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวานอายุจะสั้นลง 6 ปี และหากเป็นโรคเบาหวานร่วมกับโรคหลอดเลือดหัวใจ อายุจะสั้นลง 12 ปี และการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงยังทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตาบอด ไตวาย เท้าเป็นแผลเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์ เป็นต้น 

ตรวจ HbA1C ชี้เป้าเบาหวาน

               HbA1C หรือการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี เป็นการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ถ้าเราได้รับอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากเกินความต้องการที่ร่างกายจะนำไปใช้ น้ำตาลบางส่วนที่เหลือในเลือดจะไปจับกับเม็ดเลือดแดง จนมีปริมาณฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แตกต่างอย่างไรกับค่าน้ำตาลทั่วไป

                โดยทั่วไปเรามักจะคุ้นเคยกับการอดอาหาร 6 - 8 ชั่วโมง ก่อนการเจาะเลือดตรวจสุขภาพ ซึ่งค่าน้ำตาลที่ได้จะบอกได้คร่าวๆว่าวันสองวันที่ผ่านมานั้น เราทานอาหารที่มีน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน แต่การตรวจหา HbA1C เป็นตัวช่วยประเมินความสามารถในการควบคุมเบาหวานในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้ชัดเจนกว่า ไม่ใช่เพียงวันสองวันก่อนตรวจ

การตรวจหา HbA1C มีประโยชน์อย่างไร

  • ดูแลเบาหวานและป้องกันโรคแทรกซ้อนดีขึ้น
  • เราควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเท่าไร โดยดูค่าเฉลี่ยน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนก่อน
  • ฮีโมลโกลบิน เป็นสารในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่พาออกซิเจนไปส่วนต่างๆของร่างกาย
  • ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ตลอด จะบอกถึงค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในช่วง

 

ดูค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอย่างไร

 

คนปกติ คนเสี่ยงเป็นเบาหวาน คนเป็นเบาหวาน
(ค่าปกติ) ค่าช่วง HbA1C = น้อยกว่า 6.0 mg% ค่าช่วง HbA1C = 6.0 mg% ถึง 6.4 mg% (ค่าสูง) ค่าช่วง HbA1C = มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg%

 

หากคุณมีค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเท่ากับ 6.0 mg% ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเบาหวานและต่อมไร้ท่อ

 

หากพบ 'ค่าน้ำตาลสูง' ควรทำอย่างไร

  • ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่องเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาที่เหมาะสม
  • ตรวจร่างกายเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท
  • ติดตามค่า HbA1c อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี หรือตามดุลพินิจของแพทย์
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดอาหารประเภทให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
  • ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม
  • ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

 

ถ้าปล่อยให้ค่าน้ำตาลสูง...จะเกิดอะไรขึ้น
หากเมื่อไหร่ที่ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 6.5% นั่นอาจเป็นสัญญาณที่นำไปสู่โรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น โรคผนังหลอดเลือดแดง โรคตา โรคไต โรคระบบประสาท โรคติดเชื้อ เป็นต้น และอาจตกอยู่ในสภาวะน้ำตาลในหลอดเลือดสูง มีความเข้มข้นของเลือดสูงสามารถทำให้ช็อค หมดสติได้ ดังนั้นยิ่งเจอความผิดปกติเร็วเท่าไหร่ ยิ่งเท่ากับเพิ่มโอกาสในการรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามและร้ายแรง 

 

สนใจเครื่องตรวจ HbA1C สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-362-4567

 

ขอขอบคุณบทความและข้อมูลความรู้

ศ.นพ.ชัชลิต รัตรสาร จากโรงพยาบาลพญาไท2

พญ.สุวรรณา ไชยชุมศักดิ์   จากโรงพยาบาลพญาไท3